การค้นคว้าอิสระ
วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
คำถาม
ทำไมคนในอำเภอชะอวดถึงชอบคุยโทรสัพมากกว่าคุยกันเอง
เป็นเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีหรือเป็นเพราะเพื่อน
ปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธว่าโทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนไปซะแล้ว บางคนมีหลายเครื่องอีกต่างหาก และส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกใช้สมาร์ทโฟน เพราะด้วยฟังก์ชันที่ต้องการจะตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์
จริงอยู่ว่าโลกเปลี่ยน การมีโทรศัพท์มือถือมีข้อดีมากมาย ทั้งสะดวกรวดเร็ว สามารถติดต่อผู้คนได้มากมาย ทั้งทางด้านธุรกิจ คุยกับเพื่อน ยิ่งเดี๋ยวนี้มีแอพลิเคชั่นมากมาย โดยเฉพาะโปรแกรมที่ใช้ chat ได้รับความนิยมชนิดถล่มทลาย
ก่อนหน้านี้คนเป็นพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นมักวิตกกังวลกลัวลูกคุยโทรศัพท์ทั้งวัน ติดโทรศัพท์ ไม่เป็นอันทำอะไร แต่เดี๋ยวนี้ลูกไม่ค่อยได้คุยโทรศัพท์แล้ว แต่ก็ยังคงติดมือถือหนึบหนับเหมือนเดิม หรืออาจจะมากกว่าเดิมด้วย เพราะใช้วิธีคุยผ่านโปรแกรม chat
เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ต้องเติบโตขึ้นมาในสังคมที่เต็มไปด้วยการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีที่พรั่งพรูอยู่ทุกวัน และเด็กส่วนใหญ่ก็เรียกร้องที่จะมีโทรศัพท์มือถือที่สามารถ chat ได้ โดยเฉพาะเจ้าแอปพลิเคชัน Line ที่คนไทยนิยมกันมากมายเหลือเกิน ใช้กันมากถึงขั้นเป็นอันดับ 2 ของโลก
งานวิจัยหลายชิ้นที่สะท้อนให้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่ติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนัก กลุ่มวัยรุ่นไทยมีความรู้สึกที่ดีต่อเทคโนโลยีในแง่ของความรู้สึกปลอดภัย มั่นใจ ได้เข้าสังคม และทันสมัย ทั้งยังพบว่า มือถือมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในชีวิตของพวกเขา บางคนบอกว่าถ้าขาดมือถือจะมีอาการเหมือนคนติดยา !
โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ และกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กรุ่นใหม่ไปแล้ว
ล่าสุด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาแถลงถึงผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2555 พบว่า ในกลุ่มประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 44 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเขต กทม.มีการใช้มากที่สุดร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ร้อยละ 64
ทั้งระบุว่าพฤติกรรมคนไทยในการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะชนิดสมาร์ทโฟน ได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ที่นิยมใช้ในการส่งข้อความ เช่น ส่งการบ้าน ข้อความสั้น ส่งรูปถ่ายส่วนตัว รูปทั่วไป คลิปเสียง สติกเกอร์ต่างๆ และใช้ฟรีตลอดเวลา ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน
ผลดีอาจสร้างความสะดวกในการสื่อสารโดยเฉพาะในสถานที่งดการใช้เสียง รวดเร็วทั้งภาพและเสียง ประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ ส่วนเรื่องผลกระทบที่เป็นห่วง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังมีวุฒิภาวะน้อยหากผู้ปกครองไม่ชี้แนะ ดูแล ควบคุมการใช้อย่างจริงจัง อาจจะเกิดผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ที่น่าห่วงก็คือการเกิดพฤติกรรมก้มหน้า สังคมก้มหน้า การสื่อสารแบบเผชิญหน้าจะลดน้อยลง และอาจนำไปใช้เป็นประจำจนติดเป็นนิสัย ผู้ใช้อยู่ในโลกส่วนตัวมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ขาดความระมัดระวัง อาจเกิดปัญหาอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น
เรียกว่าเป็นอาการน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับเด็กยุคนี้ที่กำลังกลายเป็น “เด็กยุคก้มหน้า” !
มีงานวิจัยมากมายหลายสำนักก่อนหน้านี้ที่ส่งสัญญาณเตือนดังๆ ออกมาว่าเป็นห่วงพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ที่ติดมือถืออย่างหนัก เพราะฉะนั้น พ่อแม่ต้องใส่ใจและตระหนักอย่างจริงจังต่อเรื่องนี้ โดยปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
ประการแรก เริ่มจากความรัก ความใกล้ชิดของพ่อแม่ ที่จะเป็นปราการด่านแรกในการให้ลูกได้เรียนรู้และสัมผัสได้ถึงความรัก ความห่วงใย
ประการต่อมา ทำกิจกรรมกับลูกอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ลูกสนใจกิจกรรมและเรียนรู้ถึงการใช้เวลาว่างและการมีงานอดิเรก
ประการที่สาม สื่อสารกับลูกตั้งแต่เล็กในรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ที่ควรจะมีการสื่อสารผ่านความรู้สึก สีหน้า ท่าทาง แววตา และมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เล็กจนโต
ประการที่สี่ กำหนดกฎ กติกาตามวัย ให้เขาได้เรียนรู้การมีกฎกติการ่วมกันภายในบ้าน เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ในเรื่องอื่นๆ โดยดูให้เหมาะสมกับวัย จนกระทั่งมาถึงเรื่องมือถือในวัยที่เหมาะสม ก็ต้องมีกฎกติกาว่าจะใช้เมื่อไร ควบคุมเรื่องเวลา และพูดคุยให้ฟังถึงประโยชน์และโทษของมันให้ลูกได้รับรู้ หรืออาจมีข้อตกลงร่วมกัน เช่น มื้ออาหารห้ามใช้มือถือ ฯลฯ
ประการที่ห้า พยายามกำหนดกิจกรรมที่อยากให้ลูกทำ หรือเป็นกิจกรรมเรื่องโปรดของเขาอยู่แล้ว แต่พอมีมือถือก็ทำให้เขาห่างไป เช่น การอ่านหนังสือ ก็อาจใช้วิธีกำหนดเวลาให้เขาหยุดใช้มือถือช่วงเวลาไหน และต้องให้เวลากับกิจกรรมอ่านหนังสือก่อนนอน ถ้าทำเป็นประจำ เขาก็จะติดเป็นนิสัย
ประการที่หก พ่อแม่ต้องทำให้ได้ด้วย ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กก้มหน้า พ่อแม่ก็ต้องไม่มัวแต่ก้มหน้าด้วย
คนเป็นพ่อแม่ยุคนี้อาจรู้สึกเหนื่อยหรือท้อแท้กับการดูแลลูก เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เข้ามาเป็นสิ่งเย้ายวนใจมากมายเหลือเกิน แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธปรากฏการณ์เหล่านี้ไปได้
เพราะฉะนั้น เราต้องไม่ยอมให้ลูกของเราตกเป็น “เด็กก้มหน้า” และกลายเป็นเหยื่ออีกรายของโลกเทคโนโลยีนะคะ
ลองคิดเล่นๆ ถ้าเรายังปล่อยสถานการณ์อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกหน่อยโลกอนาคตผู้คนคงเดินก้มหน้า และ มีวิวัฒนาการใหม่กลายเป็น “คองอ” กันไปหมด
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ประวัติของสมาชิกในกลุ่ม
ประวัติของ ด.ช. อธิรัตน์ นวลปาน
บิดา นาย ปฎิวัติ นวลปาน
มารดา นางศิริประภา นวลปาน
วัน/เดือน/ปี ที่เกิด วันที่ 24 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2543
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 109/1 หมู่ที3 ต.ชะอวด
อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
สถานที่เกิด โรงพยาบาลชะอวด
สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
ประวัติของ ด.ช. ชลสิทธิ์ สิทธิไทย
บิดา นาย ไพศาล สิทธิไทย
มารดา นาง ประไพ สิทธิไทย
วัน/เดือน/ปี ที่เกิด วันที่ 25 กุมภาพันธุ พ.ศ.2544
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 137/10 หมู่ที่ 10 ต.ชะอวด
อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรม
สถานที่เกิด โรงพยาบาลชะอวด
สัญชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
อาหารที่ชอบ ข้าวผัดรวมมิตร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)